บล็อกนี้ใช้สำหรับเรียนวิชาศิลปะ เป็นการเรียนแบบผสมผสาน(blended learning)ระหว่างการเรียนในห้องปกติ และการเรียนบนเว็บบล็อก
Art10
วันอังคารที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2557
วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
ศิลปะคืออะไร
สาระสำคัญ
ศิลปะ เป็นผลผลิตที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่ได้ถ่ายทอดรูปแบบออกมาเป็นผลงานศิลปะแขนงต่างๆ ผ่านกระบวนการทางความคิด ความต้องการจากแรงกระตุ้นสิ่งเร้าภายนอก ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจของศิลปิน ได้สร้างสรรค์ผลงาน โดยการบูรณาการโครงสร้าง ส่วนประกอบของศิลปะ วัสดุ และเทคนิคกลวิธี ในการถ่ายทอดรูปแบบ คำนึงถึงหลักของการจัดองค์ประกอบศิลป์ เพื่อให้ได้ผลงานที่มีคุณค่าทางความงาม
สาระการเรียนรู้
ศิลปะ เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น เพื่อสนองความต้องการของตนเองและสังคมมีคุณค่าทางความงาม
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน กล่าวถึงความหมายของศิลปะ คือ ฝีมือทางการช่าง การแสดงออกให้ปรากฏขึ้น ได้อย่างงดงามน่าพึงชมและเกิดอารมณ์สะเทือนใจ
พจนานุกรมศัพท์ศิลปะอังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน กล่าวว่า ART ศิลปะ คือ ผลแห่งพลังความคิดสร้างสรรค์ ของมนุษย์ ที่แสดงออกในรูปลักษณะต่างๆให้ปรากฏซึ่งสุนทรียภาพ ความประทับใจ หรือความสะเทือนอารมณ์ ตามอัจฉริยะภาพ พุทธิปัญญา ประสบการณ์ รสนิยม และทักษะของแต่ละคนเพื่อความพอใจ ความรื่นรมย์ ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี หรือความเชื่อในลัทธิศาสนา
ศิลปะ เป็นผลผลิตที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่ได้ถ่ายทอดรูปแบบออกมาเป็นผลงานศิลปะแขนงต่างๆ ผ่านกระบวนการทางความคิด ความต้องการจากแรงกระตุ้นสิ่งเร้าภายนอก ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจของศิลปิน ได้สร้างสรรค์ผลงาน โดยการบูรณาการโครงสร้าง ส่วนประกอบของศิลปะ วัสดุ และเทคนิคกลวิธี ในการถ่ายทอดรูปแบบ คำนึงถึงหลักของการจัดองค์ประกอบศิลป์ เพื่อให้ได้ผลงานที่มีคุณค่าทางความงาม
สาระการเรียนรู้
ศิลปะ เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น เพื่อสนองความต้องการของตนเองและสังคมมีคุณค่าทางความงาม
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน กล่าวถึงความหมายของศิลปะ คือ ฝีมือทางการช่าง การแสดงออกให้ปรากฏขึ้น ได้อย่างงดงามน่าพึงชมและเกิดอารมณ์สะเทือนใจ
พจนานุกรมศัพท์ศิลปะอังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน กล่าวว่า ART ศิลปะ คือ ผลแห่งพลังความคิดสร้างสรรค์ ของมนุษย์ ที่แสดงออกในรูปลักษณะต่างๆให้ปรากฏซึ่งสุนทรียภาพ ความประทับใจ หรือความสะเทือนอารมณ์ ตามอัจฉริยะภาพ พุทธิปัญญา ประสบการณ์ รสนิยม และทักษะของแต่ละคนเพื่อความพอใจ ความรื่นรมย์ ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี หรือความเชื่อในลัทธิศาสนา
การวิเคราะห์ตัวชี้วัดสู่การพัฒนาทักษะการคิด
การวิเคราะห์ตัวชี้วัดสู่การพัฒนาทักษะการคิดเป็นการนำตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จาก 3 สาระ 6 มาตรฐาน จำนวน 27 ตัวชี้วัด มาวิเคราะห์รายตัวชี้วัดใน 4 ประเด็น คือ ตัวชี้วัดแต่ละตัวผู้เรียนควรมีความรู้อะไรและทำอะไรได้ ทักษะการคิด ชิ้นงานและภาระงาน และแนวการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด ในแต่ละประเด็นจะมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันและสะท้อนคุณภาพผู้เรียนตามตัวชี้วัด
องค์ประกอบศิลป์
ความนำ
ความเป็นศิลปะหรือสิ่งใดที่จะเรียกว่าเป็นงานศิลปะหรืองานออกแบบจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบของศิลปะอย่างครบถ้วน ส่วนวิธีการที่จะสร้างสรรค์ผลงานขึ้นอยู่กับความคิดสร้างสรรค์ ความไวในการรับรู้เชิงสุนทรียะการตัดสินใจในการออกแบบ ทักษะและความชำนาญในการสร้างสรรค์ ความถนัดเฉพาะตัวเป็นต้น เมื่อนักศึกษาได้เรียนบทเรียนนี้แล้ว นักศึกษาจะได้มีความรู้ความเข้าใจและมีความสามารถทางศิลปะและการออกแบบมากขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการออกแบบกิจกรรมศิลปะในชั้นเรียน การวิจารณ์งานศิลปะและการประเมินผลงานศิลปะเด็ก
องค์ประกอบของศิลปะ
องค์ประกอบ หมายถึงส่วนย่อยต่าง ๆ ที่นำมาประกอบกันเข้าให้เป็นส่วนรวม เช่นร่างกายของคนเราก็ต้องประกอบด้วยลำตัว ศีรษะ แขน ขา ฯลฯ เป็นองค์ประกอบของร่างกาย ในทางศิลปะ องค์ประกอบศิลป์ก็คือการนำเส้น สี แสง เงา น้ำหนัก ฯลฯ มาประกอบกันเข้าให้มีความงาม ความกลมกลืน และการประสานกันอย่างมีเอกภาพ
องค์ประกอบของศิลปะ แต่ละหน่วยหรือแต่ละอย่างจะมีลักษณะของตัวเอง มีคุณสมบัติอยู่ในตัว เช่นเดียวกับส่วนประกอบของอาหารแต่ละอย่าง เมื่อนำเอามาประกอบกันเข้าอย่างได้สัดส่วนที่ดี ย่อมมีความกลมกล่อม อาหารก็อร่อยถึงขั้น “รสโอชา”
การจัดองค์ประกอบศิลปะเป็นวิชาหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการสร้างสรรค์ศิลปะทุกแขนง ทั้งจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม ฯลฯ เพราะทุกอย่างที่มนุษย์สร้างขึ้นล้วนแต่ประกอบด้วยส่วนประกอบย่อย ๆ เมื่อนำเอาส่วนประกอบเหล่านั้นมารวมเข้าด้วยกันก็จะบังเกิดผลแก่งานศิลปะนั้นๆ
ความเป็นศิลปะหรือสิ่งใดที่จะเรียกว่าเป็นงานศิลปะหรืองานออกแบบจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบของศิลปะอย่างครบถ้วน ส่วนวิธีการที่จะสร้างสรรค์ผลงานขึ้นอยู่กับความคิดสร้างสรรค์ ความไวในการรับรู้เชิงสุนทรียะการตัดสินใจในการออกแบบ ทักษะและความชำนาญในการสร้างสรรค์ ความถนัดเฉพาะตัวเป็นต้น เมื่อนักศึกษาได้เรียนบทเรียนนี้แล้ว นักศึกษาจะได้มีความรู้ความเข้าใจและมีความสามารถทางศิลปะและการออกแบบมากขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการออกแบบกิจกรรมศิลปะในชั้นเรียน การวิจารณ์งานศิลปะและการประเมินผลงานศิลปะเด็ก
องค์ประกอบของศิลปะ
องค์ประกอบ หมายถึงส่วนย่อยต่าง ๆ ที่นำมาประกอบกันเข้าให้เป็นส่วนรวม เช่นร่างกายของคนเราก็ต้องประกอบด้วยลำตัว ศีรษะ แขน ขา ฯลฯ เป็นองค์ประกอบของร่างกาย ในทางศิลปะ องค์ประกอบศิลป์ก็คือการนำเส้น สี แสง เงา น้ำหนัก ฯลฯ มาประกอบกันเข้าให้มีความงาม ความกลมกลืน และการประสานกันอย่างมีเอกภาพ
องค์ประกอบของศิลปะ แต่ละหน่วยหรือแต่ละอย่างจะมีลักษณะของตัวเอง มีคุณสมบัติอยู่ในตัว เช่นเดียวกับส่วนประกอบของอาหารแต่ละอย่าง เมื่อนำเอามาประกอบกันเข้าอย่างได้สัดส่วนที่ดี ย่อมมีความกลมกล่อม อาหารก็อร่อยถึงขั้น “รสโอชา”
การจัดองค์ประกอบศิลปะเป็นวิชาหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการสร้างสรรค์ศิลปะทุกแขนง ทั้งจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม ฯลฯ เพราะทุกอย่างที่มนุษย์สร้างขึ้นล้วนแต่ประกอบด้วยส่วนประกอบย่อย ๆ เมื่อนำเอาส่วนประกอบเหล่านั้นมารวมเข้าด้วยกันก็จะบังเกิดผลแก่งานศิลปะนั้นๆ
จุดประสงค์ของการเรียนรู้
1. อธิบายความหมายเกี่ยวกับองค์ประกอบศิลป์ได้
2. บอกส่วนประกอบต่างๆ ขององค์ประกอบศิลป์ได้
3. บอกหลักเกณฑ์เกี่ยวกับหลักการจัดองค์ประกอบศิลป์ได้
โครงสร้างของงานศิลปะ
โครงสร้างเกี่ยวกับงานศิลปะ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน
1. เส้น (Line) หมายถึง จุดที่เรียงติดต่อกัน เกิดจาการลากขูด ขีด เขียนด้วยวัสดุต่างๆ ลงบนระนาบผิว ทำให้เกิดเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง เส้นเฉียง ฯลฯ สามารถให้ความรู้สึกทางตา คือการมองเห็น ก่อให้เกิดความรู้สึกที่มีความหมายต่างกัน เช่น แข็งกระด้าง อ่อนไหว เป็นต้น
2. รูปร่าง รูปทรง (Form & Shape) เกิดจากการประกอบกันของเส้น รูปทรงแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
- รูปทรงเรขาคณิต
- รูปทรงธรรมชาติ
- รูปทรงอิสระ
- รูปทรงธรรมชาติ
- รูปทรงอิสระ
3. แสงและเงา (Light & Shadow) แสงและเงา ให้มองเห็นวัตถุต่างๆ เมื่อมองกระทบวัตถุที่จะเกิดส่วนมืดในทิศทางตรงข้ามกับแสง ก่อให้เกิดความรู้สึก ลักษณะแตกต่างกัน
4. บริเวณว่าง (Space) หมายถึง พื้นที่ว่างระหว่างวัตถุ สิ่งของที่วางโดยรอบบริเวณว่างสามารถกำหนดได้ทั้งในงานจิตรกรรม ประติมากรรมและสถาปัตยกรรม สามารถสร้างบรรยากาศให้เกิดความรับรู้ได้เป็นอย่างดี
5. สี (Color) คือ ลักษณะของแสงที่ปรากฏแก่สายตาเราทำให้มองเห็นสีต่างๆ สีมีอิทธิพลเหนือจิตใจมนุษย์ จากการใช้สายตาสัมผัส จากการใช้สีในงานจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม ก่อให้เกิดคุณค่าทางการรับรู้ที่แตกต่างกัน
6. ลักษณะผิว (Texture) เป็นความแตกต่างของผิวที่สัมผัสด้วยการมองเห็น ให้ความรู้สึกเรียบ ขรุขระ หยาบ ผิวมัน ด้าน ฯลฯ ในทางจิตรกรรมเป็นการสร้างภาพลวงตาด้วยลักษณะผิวที่แตกต่างกัน ในทางประติมากรรมเป็นความแตกต่างของพื้นผิว เพื่อเสริมสร้างคุณค่าทางความงาม ในทางสถาปัตยกรรม เพื่อเสริมสร้างความงาม หรือประโยชน์ใช้สอยตามความเหมาะสม
2. หลักการจัดองค์ประกอบศิลป์มีสิ่งที่ควรคำนึง ดังนี้
2.1 เอกภาพ หมายถึง การรวมกันเป็นกลุ่มก้อน ไม่แตกแยกกระจัดกระจายไปคนละทิศทางทำให้ขาดประสานสัมพันธ์กัน ในทางทัศนศิลป์เอกภาพยังเป็นส่วนที่แสดงให้เห็นเนื้อหาเรื่องราวที่ต้องการอย่างชัดเจนด้วย
2.2 สมดุล หมายถึง การจัดวางองค์ประกอบศิลป์ให้มีความเหมาะสมไม่เอียงเอนไปข้างใดข้างหนึ่งของภาพ สมดุลมี 2 แบบ คือ สมดุลแบบซ้าย-ขวาเท่ากัน เป็นลักษณะการจัดวางองค์ประกอบศิลป์ที่ยึดถือความเหมือนกันทุกประการทั้ง 2 ข้าง เช่น ความสมดุลของร่างกายมนุษย์ เป็นต้น
สมดุลแบบซ้าย-ขวาไม่เท่ากัน เป็นสมดุลทางความรู้สึกในการมองเห็น โดยที่วัตถุหรือเนื้อหาในภาพไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน
2.2 สมดุล หมายถึง การจัดวางองค์ประกอบศิลป์ให้มีความเหมาะสมไม่เอียงเอนไปข้างใดข้างหนึ่งของภาพ สมดุลมี 2 แบบ คือ สมดุลแบบซ้าย-ขวาเท่ากัน เป็นลักษณะการจัดวางองค์ประกอบศิลป์ที่ยึดถือความเหมือนกันทุกประการทั้ง 2 ข้าง เช่น ความสมดุลของร่างกายมนุษย์ เป็นต้น
สมดุลแบบซ้าย-ขวาไม่เท่ากัน เป็นสมดุลทางความรู้สึกในการมองเห็น โดยที่วัตถุหรือเนื้อหาในภาพไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน
2.3 จุดเด่นและการเน้น หมายถึง ส่วนสำคัญที่สุดของภาพที่ต้องการแสดง ซึ่งนำไปสู่การบอกเล่าเนื้อหาทั้งหมดของภาพหรือเป็นจุดที่ดึงดูดความสนใจให้มอง ในทางทัศนศิลป์จุดสนใจควรมีจุดเดียว ซึ่งอาจจะเป็นส่วนที่แสดงความสำคัญหรือมีสีสันสดใสที่สุด นอกจากนั้นยังอาจเน้นให้เกิดจุดเด่นด้วยการสร้างความแตกต่างขึ้นในภาพ จุดเด่นไม่จำเป็นต้องอยู่กลางภาพเสมอไป อาจจะอยู่ส่วนใดส่วนหนึ่งของภาพก็ได้
2.4 ความกลมกลืน เป็นสิ่งสำคัญสุดท้ายของการจัดองค์ประกอบศิลป์ ซึ่งจะขาดเสียมิได้ เพราะความกลมกลืนจะทำให้ภาพงดงาม และนำไปสู่เนื้อหาเรื่องราวที่นำมาเสนอ ความกลมกลืนมี 2 แบบ คือ
-ความกลมกลืนแบบคล้อยตามกัน
-ความกลมกลืนแบบขัดแย้ง
-ความกลมกลืนแบบคล้อยตามกัน
-ความกลมกลืนแบบขัดแย้ง
วันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
เนื้อหาบทเรียน
1. เส้นตรง
......1.1 เส้นตรงตั้งฉาก
......1.2 เส้นตรงแนวนอน
......1.3 เส้นตรงเฉียง
2. เส้นโค้ง
......2.1 เส้นโค้ง
......2.2 เส้นคด
......2.3 เส้นซิกแซ็ก
3. สี
......3.1 สีน้ำ
......3.2 สีไม้
......3.3 สีเทียน
......3.4 สีช็อก
......3.5 สีโปสเตอร์
......3.6 สีน้ำมัน
......3.7 สีฝุ่น
......3.8 สีพาสติก
......1.1 เส้นตรงตั้งฉาก
......1.2 เส้นตรงแนวนอน
......1.3 เส้นตรงเฉียง
2. เส้นโค้ง
......2.1 เส้นโค้ง
......2.2 เส้นคด
......2.3 เส้นซิกแซ็ก
3. สี
......3.1 สีน้ำ
......3.2 สีไม้
......3.3 สีเทียน
......3.4 สีช็อก
......3.5 สีโปสเตอร์
......3.6 สีน้ำมัน
......3.7 สีฝุ่น
......3.8 สีพาสติก
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)